วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

UDP

UDP


 UDP เป็นการส่งข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันการรับส่งข้อมูล คือผู้ส่งไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลได้ถึงผู้รับแล้วหรือไม่ เราจะต้องเขียนการตรวจสอบข้อมูลเอาเอง เช่น ถ้าผมส่งข้อมูลไป ถ้าฝั่งที่รับข้อมูลได้รับข้อมูลแล้ว ก็ให้ตอบกลับมาให้ผม ผมก็ทราบแล้วว่าข้อมูลไปถึง แต่ถ้าไม่มีการตอบกลับภายในระยะเวลาที่ผมกำหนด ก็ให้แจ้งว่าผู้รับไม่ได้รับข้อความ
    UDP อยู่ใน Transport layer(ทรานสโพท เลเยอร์) ทำหน้าที่จัดการและควบคุมการรับส่งข้อมูล แต่ไม่มีกลไกความคุมการรับ ส่งข้อมูลให้มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ unreliable (อันรีไลเบิ้ล) และ connectionless (คอนเนคชั่นเลทด์) โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแอพพลิเคชั่นเลเยอร์ แต่ UDP มีข้อได้เปรียบในการส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ unicast (ยูนิคาสต์), multicast (มัลติคาสต์) และ broadcast (บรอดคาสต์) อีกทั้งยังทำการติดต่อสื่อสารได้เร็วกว่า TCP (ที ซี พี) เนื่องจาก TCP ต้องเสีย overhead (โอเวอร์เฮด) ให้กับขั้นตอนการสื่อสารที่ทำให้ TCP มีความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง 







โพรโทคอล X.25

โพรโทคอล X.25


โพรโทคอล X.25
       คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย





โพรโทคอล H.323

โพรโทคอล H.323


โพรโทคอล H.323
       การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้







DNS

DNS


DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการ ระบุตัวเองคล้ายกับชื่อ-นามสกุลของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IPAddress โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจำ IP Address เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจำชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการการสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมา
ซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ในการใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมื่อต้องการจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ 







Telnet

Telnet 


     Telnet คือ บริการที่ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยการใช้ Internetหากคุณได้รับสิทธิ์ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากเจ้าของเครื่องหรือผู้ดูแล Telnet จะยินยอมให้คุณพิมพ์คำสั่งที่ใช้สำหรับการเข้าถึงโปรแกรมและการบริการต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล ราวกับว่าคุณนั่งอยู่ตรงข้างหน้าเครื่องดังกล่าว สามารถใช้ Telnet ทำงานได้หลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงอีเมล ฐานข้อมูล หรือแฟ้ม ซึ่งบริการ Telnet นี้จะทำงานในเครื่องบริการที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Linux ตัวอย่างโปรแกรม เช่น NCSA Telnet

http://www.mindphp.com





NetBEUI

NetBEUI


NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)
     เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบ เครือข่ายขนาดเล็กเนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วทั้งเครือข่ายไม่สามารถหาเส้นทาง (route) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้คือการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน






OSI Protocol

OSI Protocol

ในปัจจุบันระบบเครือข่ายมีโปรโตคอลที่ใช้หลายประเภทซึ่งพัฒนาโดยบางองค์กรหรือบางบริษัท โดยโครงสร้างโปรโตคอลเหล่านี้ก็แบ่งเป็นชั้นๆ หรือเลเยอร์ คล้ายกับ OSI Model แต่อาจจะไม่เหมือนกันทุกเลเยอร์



วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

RARP

RARP


RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น 







DHCP

DHCP


DHCP ย่อมาจาก Dynamic host Configuration Protocal เป็นโปรโตคอลเครือข่ายที่ใช้ในการกำหนดค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบ Server-Cleint - client ลูกข่าย เพื่อสามารถสื่อสารกันบนเครือข่ายได้ โปรโตคอลจะกำหนด IP Address ให้กับเครื่อง Client โดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้ซ้ำกันในเครือข่าย   DHCP server จะเก็บฐานข้อมูลที่อยู่ของ IP Address ที่มีอยู่รวมไปถึงข้อมูลที่กำหนดขึ้นมา เมื่อ Server ได้รับการร้องขอจากเครื่อง Client ในการเข้าร่วมเครือข่าย DHCP Server จะเป็นฝ่ายกำหนด IP Address ให้กับเครื่อง Client 

หลักการทำงานของ DHCP เมื่อมีการเชื่อมต่อสาย Network  แล้วเครื่องก็จะได้หมายเลข IP เพื่อใช้งานการเข้าสู่ะบบคอมพิวเตอร์  DHCP นิยมใช้กับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่อง Client จำนวนมากๆ



IPX

IPX

ในการสื่อสารของระหว่างสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว ทั้งภาษาพูด และภาษากาย ซึ่งการพูดคุยกันนั้นเราจะต้องใช้ภาษาเดียวกันในการพูด แต่ถ้าคนที่คุยกันคนละภาษามาคุยกัน ก็ต้องใช้เครื่องแปลภาษาให้เป็นภาษากลางเพื่อให้คนทั้งสองพูดคุยกัน เช่นกันโปรโตคอลก็เหมือนกับเครื่องแปลภาษาที่จะคอยแปลภาษาให้เป็นภาษากลางให้คอมพิวเตอร์ทุกตัวในโลกนี้สามารถติดต่อกันได้แม้ว่าจะใช้ภาษาในการติดต่อกันคนละภาษาก็ตาม โดยหนึ่งในโปรโตคอลที่นิยมใช้งานกันมากตัวหนึ่งก็คือ IPX/SPX



IPX/SPX ย่อมากจาก Internetwork Packet Exchange (IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้จะทำงานประสานกันทุกครั้ง ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก Novell โดยบริษัทนี้ได้นำโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation มาพัฒนาต่อจนกลายเป็น IPX/SPX
หลักการทำงานของโปรโตคอล IPX/SPX ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องแยกออกมาเป็นโปรโตคอล 2 ตัวด้วยกันคือ Internetwork Packet Exchange (IPX) ทำหน้าที่เหมือนกับพนักงานคัดแยะเอกสาร ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลตัวนี้จะทำการหาปลายทางในการส่งและติดต่อกับผู้ส่ง โดยทำงานในระดับ Network Layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตราฐานของ OSI Model โดยโปรโตคอล IPX นี้จะทำงานแบบ connectionless และ unrerelible ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวรหรือตลอดเวลา
ส่วนโปรโตคอล SPX นั้นจะเปรียบเทียบก็เป็น พนักงานส่งจดหมายหลังจาก IPX ได้ทำการหาปลายทางและทำการจัดส่งข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว SPX จะนำข้อมูลไปส่งให้กับผู้รับซึ่งโปรโตคอลนี้จะทำงานอยู่ในระดับ transport layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 4 ตามมาตราฐาน OSI Model โดยมีการทำงานของโปรโตคอล SPX จะทำงานตรงกันข้ามกับโปรโตคอล IPX เนื่องจาก SPX จะต้องทำการติดต่อปลายทางให้ได้ก่อนถึงจะส่งข้อมูลผิดกับ IPX ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับปลายทางก็สามารถส่งข้อมูลได้



TCP/IP

TCP/IP 

      
   
       การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้

และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ


                              

                                                  http://www.mindphp.com

lP

lP


lP Address คืออะไร ไอพี แอดเดรส คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์

     IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล


                                                         http://www.mindphp.com

IMAP

IMAP 



IMAP ย่อมาจาก Internet Message Access Protocol ซึ่งมีข้อดีกว่า โปรโตคอล POP (Post Office Protocol) ที่จะทำงานแบบ Offline Model หรือจะเรียกว่าการทำงานด้านเดียวนั้นเอง ซึ่งการทำงานของ POP จะแตกต่างจาก IMAP อย่างสิ้นเชิง โดยการทำงานของ POP จะใช้งานผ่าน Email client จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับ Mail Server โดยตรงซึ่งการแก้ไข ลบ เพิ่ม เติมอีเมล์ก็จะทำได้จาก Email client เท่านั้น แต่การทำงานของ IMAP นั้นทำงานแตกต่างจากโปรโตคอล POP ด้วยการทำงานควบคู่กับอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆซึ่งการทำงานแบบนี้เรียกว่า การทำงานแบบ Two way communication หรือ Online Model






SMTP

SMTP


SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS

ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น



POP

POP 



POP  เป็น โพรโตคอล มาตรฐานอินเทอร์เน็ต แอ็พพลิเคชันที่ ใช้โดย ไคลเอ็นต์อีเมล์ภายใน เพื่อ รับอีเมล์ จาก เซิร์ฟเวอร์ ระยะไกลผ่านการเชื่อมต่อ TCP / IP [1] POP ได้รับการพัฒนาผ่านหลายเวอร์ชันโดยเวอร์ชัน 3 ( POP3 ) เป็นมาตรฐานสุดท้ายที่ใช้กันทั่วไปก่อนที่จะถูกทำให้ล้าสมัยโดย IMAP ขั้นสูงและ เว็บเมล




FTAM

FTAM


ธีการเข้าถึงไฟล์โอน (FTAM) หรือที่รู้จักกันในชื่อ File Transfer Access and Management หรือ Electronic File Transfer Access Method (EFTAM) เป็น มาตรฐาน ISO (8571) ที่กำหนดวิธีการถ่ายโอน ไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่าย FTAM จะขึ้นอยู่กับรูปแบบ Open Systems Interconnection ( OSI ) และคล้ายกับ File Transfer Protocol (FTP) และ Network File System (NFS)




HTTP

HTTP

HTTP เป็นกลไกหรือโปรโตคอลหลักที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของเวิลด์ไวด์เว็บ โดยถูกออกแบบมาให้มีความกระทัดรัด สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีกระบวนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และมีคำสั่งที่ใช้งานไม่มากนัก แต่สามารถรองรับข้อมูลได้ทุกแบบ ไม่ว่าเป็นข้อมูลทั่วไปที่เข้ารหัสแบบ MIME หรือข้อมูลที่เป็นกราฟิก
หลักการทำงานทั่วๆไปของ HTTP คือ จะแบบการทำงานออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านเว็บเซิร์ฟเวอร์ และด้านไคลเอนต์ โดยไคลเอนต์จะติดต่อเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรแกรมบราวเซอร์ และอ้างถึงแอดเดรสของเซิร์ฟเวอร์โดยใช้รูปแบบของ URL ส่วนด้านเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกลับมาในรูปแบบที่เป็น HTML โดยที่โปรโตคอล HTTP ใช้วิธีการเข้ารหัสในแบบ MIME เป็นมาตรฐานของการทำงาน
โครงสร้างข้อมูลของ HTTP จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนเฮดเดอร์ หรือเรียกว่า metadata จะเป็นส่วนเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ภายในโปรโตคอล ส่วนที่สองเป็นส่วนข้อมูลจริงที่ต้องการรับส่ง ทั้งนี้ HTTP ถูกออกแบบมาให้สามารรับส่งข้อมูลผ่าน Proxy หรือ Firewall ต่างๆได้ โดยการทำงาน HTTP จะอาศัยโปรโตคอลพื้นฐาน TCP/IP ซึ่งทั่วไปจะใช้หมายเลขพอร์ตที่ 80

โปรโตคอล HTTP ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวอร์ชั่น 1.1 (จากเดิมคือ เวอร์ชั่น 1.0) ซึ่งโปรแกรมบราวเซอร์ที่แพร่หลายทั่วไปนั้นจะสามารถรองรับโปรโตคอลในเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้ และได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานใน RFC2068 แล้ว โดยในHTTP เวอร์ชั่น1.1 นี้ได้เพิ่มประสิทธิภาพทำงานให้สูงขึ้น และปรับปรุงในด้านต่างๆที่ทำให้ความสามารถมากขึ้น





วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

ARP


ARP 


ARP (Address Resolution Protocol) เป็น โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ทั้งนี้เนื่องจากระบบของการส่งข้อมูลในระบบไอพีนั้น เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ ซึ่งหมายความว่าระบบไอพีไม่มีความสามารถในการเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ในการส่งข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เมื่อระบบไอพีต้องการส่งข้อมูล จะต้องร้องขอบริการจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ แต่เนื่องจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ไม่รู้จักแอดเดรสในระบบไอพี ดังนั้นระบบไอพีจึงต้องทำการหาแอดเดรสที่ระดับชั้นดาต้าลิงค์รู้จัก ซึ่งก็คือฮาร์ดแวร์แอดเดรส เพื่อที่จะสร้างเฟรมข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ได้ โดยโพรโตคอล ARP จะทำหน้าที่นี้การทำงานของ ARP เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง Host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP Address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ โปรแกรม ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบ บรอดคาสต์ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP Address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP Cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC Address หรือเครื่องที่ตอบมา โพรโตคอล ARP ได้ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานภายใต้ RFC 826 โดยการทำงานของ ARP จะมีรูปแบบการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ดังนั้นเครือข่ายที่ใช้งานกับโพรโตคอล ARP ได้จึงต้องเป็นเครือข่ายที่มีการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ซึ่งระบบแลนส่วนใหญ่จะมีการทำงานเป็นแบบบรอดคาสต์อยู่แล้ว จึงสามารถทำงานร่วมกับโพรโตคอล ARPได้เป็นอย่างดี และนอกเหนือจากโพรโตคอล ARP แล้วยังมีอีกโพรโตคอลหนึ่งที่ถือว่าเป็นโพรโตคอลคู่แฝดของ ARP โดยจะมีการทำงานที่ย้อนกลับกันกับโพรโตคอล ARP ดังนั้นจึงมีชื่อว่า RARP (Reverse ARP) โดยกำหนดไว้ภายใต้ RFC 903 โดยรูปแบบเฟรมของ ARP และ RARP จะมีลักษณะเหมือนกัน

ICMP

ICMP


https://sites.google.com/site/icmp03/structure-icmp/hlak-kar-thangan

รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล  ICMP จะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกรวมอยู่ภายในข้อมูล  IP Packet อีกทีหนึ่ง หรือ เป็นผู้รายงานความผิดพลาดในนามของ IP เมื่อโปรโตคอลเกิดความผิดพลาดโดยไม่สามารถกู้คืนได้  Packet  ก็จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้    
  • ยกเลิก Packet แล้วรายงานความผิดพลาดกลับมายังผู้ส่ง ข้อความที่ส่งไปนั้นก็จะถูกทิ้ง
  • การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น 
  • โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม
  • เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหา  จนไม่สามารถรับ   ข้อมูลได้
  • Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ จะมีส่วนของข้อมูล IP Packet ที่เกิดปัญหาด้วย
  • โปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่องServer ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่
https://sites.google.com/site/icmp03/structure-icmp/hlak-kar-thangan

HTTPS

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

FTP

FTP


     FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
     โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML PHP ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
http://www.mindphp.com


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ file transfer protocol คือ

UDP

UDP   UDP  เป็นการส่งข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันการรับส่งข้อมูล คือผู้ส่งไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลได้ถึงผู้รับแล้วหรือไม่ เราจะต้องเขียนกา...